โดยปกติ บรรยากาศการล่องเรือสำราญจะรู้สึกเหมือนอยู่ในโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ล่องนิ่งๆ ลอยไปเรื่อยๆ เคลื่อนที่ได้ ความรู้สึกขณะที่เราอยู่บนเรือ ก็ไม่ค่อยรู้ตัวว่าเรือกำลังวิ่งอยู่ มันค่อนข้างนิ่งมากๆ เลยค่ะ นิ่งกว่ารถยนต์ นิ่งกว่าบนเครื่องบินด้วยซ้ำ ซึ่งคนมักเข้าใจผิดว่าเรือจะต้องแกว่งเหมือนนั่งเรือสปีดโบ้ท หรือเรือเฟอร์รี่ ซึ่งไม่ใช่ค่ะ นี้คือเรือสำราญที่มีขนาดใหญ่มากๆ จุผู้โดยสาร 500-5,000 กว่าคน ใหญ่เหมือนโรงแรม เหมือนเมืองย่อมๆ เมืองนึงเลยก็ว่าได้ค่ะ
 
อย่างไรก็ตาม หากเรือสำราญต้องเจอกับลมพายุ คลื่นลมแรง ก็จะส่งผลให้เรือมีการโคลงเคลง และสั่นไหวได้เช่นกัน สำหรับท่านที่กลัวเมาเรือ ขอตอบในฐานะคนเคยเมาเรือตอนเจอพายุฝนมาก่อน ต้องเตรียมตัวทานยาล่วงหน้าไว้ค่ะ
แต่หากไม่ได้กินไว้ก่อน ก็หลับตาลงนอน ทำตัวนิ่งๆ เข้าไว้ จะช่วยได้ อย่าเดินไปมา อย่าก้มๆ เงยๆ เก็บของ ทำยิ่งทำให้อยากจะอาเจียนมากขึ้น
   
และเนื่องจากเส้นทางการล่องเรือสำราญส่วนใหญ่ จะย้ายเรือไปยังโซนต่างๆ รอบโลกตามฤดูกาลค่ะ จะล่องในฤดูไฮท์ซีซั่น ฤดูร้อน ที่แสงแดดจัด คลื่นลมสงบ เว้นล่องในฤดูฝน และฤดูหนาว ฉะนั้นโอกาสที่จะเจอคลื่นพายุฝนก็น้อยลง ยกเว้นในบางเส้นทาง และบางเดือน
ท้ายนี้เรามีผลิดตภัณท์แก้เมาเรือมาแนะนำค่ะ ตรวจสอบก่อนนะคะว่าคุณมีอาการแพ้ยาอะไรหรือไม่ ลองดูนะคะว่าวิธีไหนเหมาะกับคุณ
 

1. ทานยาแก้เมาเรือ

  • ทานยาแก้เมาเรือ ดรามามีน จากร้านทั่วไป ยาไดเมนไฮดริเนต (หรือยาดรามามีน อาจมีชื่อทางการค้าต่างกันไป) คือยาแก้แพ้ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายของชำและร้านขายยาทั่วไป โดยยาเหล่านี้จะไปจำกัดตัวรับในสมองที่กระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน คุณสามารถซื้อยาดรามามีนแบบเม็ดได้ 2 ชนิด คือ แบบที่ทำให้ง่วงและแบบที่ไม่ทำให้ง่วง ดรามามีนชนิดที่ไม่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนเหมาะกับการใช้เมื่อต้องการเล่นเครื่องเล่นในสวนสนุก แต่ถ้าคุณเดินทางด้วยรถไฟหรือเครื่องบินเป็นเวลานานและสามารถนอนหลับได้ ชนิดที่ทำให้ง่วงจะทำงานได้ดีกว่า

  • คุณต้องกินยาครั้งแรก 30 นาทีก่อนที่จะเริ่มลงเรือ เพื่อป้องกันอาการเมา ผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไปสามารถกินยาไดเมนไฮดริเนตได้ทุก 4 – 6 ชั่วโมงตามที่จำเป็นเพื่อป้องกันการเมา เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีควรกินยาแต่ละครั้งห่างกัน 6 – 8 ชั่วโมง หรือตามความจำเป็นเพื่อไม่ให้เกิดอาการเมาการเคลื่อนไหว แต่ควรปรึกษาแทพย์ประจำตัวของเด็กก่อนให้ยาำ
 
มียาชนิดอื่นสำหรับอาการเมาการเคลื่อนที่ด้วย ลองตรวจสอบกับแพทย์หรือเภสัชกรว่ายาชนิดไหนเหมาะกับคุณที่สุด

 

 เครดิต: https://goo.gl/f3LVQE

 

2. แผ่นแปะแก้เมาเรือ

  • ใช้แผ่นแปะสโคโปลามีน Transderm Scop การรักษาด้วยวิธีนี้คุณต้องไปหาหมอเพื่อรับใบสั่งยา โดยปกติแล้วการรักษาด้วยวิธีนี้ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาดรามามีน ส่วนมากยาสโคโปลามีนนี้จะอยู่ในรูปของแผ่นแปะ แผ่นแปะนี้ควรใช้ตามวิธีใช้ที่เขียนไว้ที่บรรจุภัณฑ์ โดยปกติจะแปะไว้ที่ด้านหลังหูอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนที่ยาจะออกฤทธิ์ ทำความสะอาดด้านหลังหูของคุณก่อนที่จะแปะ ลอกแผ่นแปะออกจากห่อ วางลงบนผิวหนัง จากนั้นล้างมือให้สะอาด ทิ้งไว้ได้นานเท่าที่คุณต้องการหรือตามที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์
  • ปรึกษาแพทย์ถึงผลข้างเคียงของตัวยาที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การง่วงซึม สับสน มึนงง ปากแห้ง ไปจนถึงประสาทหลอน
  • ผู้ที่เป็นโรคต้อหินหรือโรคประจำตัวบางชนิดไม่สามารถใช้ยาสโคโปลามีนได้ ดังนั้นอย่าลืมบอกแพทย์ว่าคุณมีโรคประจำตัวอะไรบ้าง
 

 



3. ใช้น้ำมันแก้เมาเรือ



4. ใช้สายรัดข้อมือแก้เมาเรือ Sea-Band Adult Wristband

 
 
5. ใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากขิง 

ขิงมีราคาถูกและใช้ได้ผลดี คุณสามารถกินขิงดิบ หรือที่แปรรูปเป็นขี้ผึ้งหรืออัดเม็ดก็ได้ หาซื้อได้ตามร้านขายยาและร้านขายของชำทั่วไป ถ้าคุณใช้ขิงก่อนที่จะต้องเดินทาง แค่ปลอกเปลือกและหั่นเป็นชิ้นเต๋าเล็กๆ ขนาดประมาณหมากฝรั่งหนึ่งเม็ด 





6. ยาดม ยาอม ยาหม่อง แก้วิงเวียนศีรษะ ที่ทุกคนคุ้นเคย 



 

ข้อแนะนำสำหรับคนที่กลัวเมาเรือ แต่อยากล่องเรือ

 
ถ้าหากยังกล้าๆ กลัวๆ แต่ใจอยากไปก็ขอแนะนำว่า..... 
 
1. เริ่มต้นให้เลือกเดินทางแบบทริปสั้นๆ 3-5 คืนก่อน เริ่มต้นใกล้ๆ โซนสิงคโปร์ มาเลเซีย ลองเทสดูว่าตัวเองไหวไหม
 
2. หรือเลือกเส้นทางวิ่งเลาะตามแนวชายฝั่ง เช่น อลาสก้า (ทะเลเรียบกริ๊ป แทบจะไม่ห่างฝั่งเลย), Norwegian Fjord (ท้องนำ้ใสเป็นกระจก นิ่งมาก), ล่องทะเลบอลติก (เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ฟินแลนด์ รัสเซีย ลิธัวเนีย) ล่องทะเลอาเดรียติก (ออกจากเวนิส เข้าเมืองสปลิทและดูบร็อฟนิก ของโครเอเชีย เข้ามอนเตรเนโกร แล้วเลียบๆ เคียงๆ เข้าทะเลกรีซ) เหล่านี้โอกาสที่จะเจอคลื่นลมแรงน้อยมาก
 
3. หากชอบโซนที่ออกทะเลลึกสักหน่อย ก็เลือกเดินทางฤดูที่ไม่มีฝนค่ะ เช่น เมดิเตอร์เรเนียน ไปเดือน มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม เอเซีย (เซี่ยงไฮ้) ก็หลบปลายกันยายน - ต้นตุลาคม  
 
4. เวลาจอง แจ้งบริษัททัวร์เลยว่า กลัวฝน กลัวคลื่น เมารักเมาเรือง่ายมาก ขอไปลำใหญ่ๆ ที่บาลานซ์ดีกว่า และใหม่ๆ ที่มีเทคโนโลยีการล่องเรือที่ดีกว่าค่ะ 
 
5. เลือกห้องที่อยู่ชั้นกลางๆ และอยู่กลางลำเรือสักหน่อย แต่ต้องวางแผนจองกันล่วงหน้าเนิ่นๆ หลายเดือน หรือเป็นปีก่อนจะเดินทาง เพราะห้องโซนอย่างนี้จะขายดีมากๆ แม้จะราคาแพงกว่าโซนอื่นๆ ใครมาก่อนก็จองไปก่อน วิธีนี้จะช่วยได้ในด้านความรู้สึก เพราะหากเราไปเจอคลื่นใหญ่ๆ หรือเจอมรสุมขนาดอ่อนๆ ที่ทำให้เรือขนาดยักษ์ทั้งลำโคลงได้ อยู่ตรงไหนก็ไม่เหลือจร้าาา
 
6. หลีกเลี่ยงทริปเดินทางยาวๆ กลางมหาสมุทร หรือประเภทล่องระหว่างทวีป จากเอเชีย ญี่ปุ่นไปฮาวาย ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิคไป L.A ล่องจากนิวยอร์คข้ามแอตแลนติกมาอังกฤษ อันนี้ก็มีโอกาสเจอคลื่นสูงๆ จ้า
 
 
 
P:2018/09/20