เที่ยวอินเดีย (India) ขอนมัสเตทุกท่าน มาร่วมซาบซึ้งกับรักยิ่งใหญ่ที่ทัชมาฮาล หลักฐานที่จะบอกว่ารักแท้ไม่ได้มีอยู่แค่ในนิยาย ตามรอยสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก่อนวาร์ปไปพักโรงแรมพระราชวังกลางน้ำระดับโลก! ที่โรแมนติก และยูนีคสุดพลัง แล้วจบทริปสวยๆ ในดินแดนแห่งสวงสวรรค์ วิวหลักล้านที่ทิเบตน้อยเลห์ ลาดักห์

เที่ยวทัชมาฮาล (Taj Mahal), เมืองอัครา (Agra)

ทัชมาฮาล สุสานหินอ่อน สถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลก ได้รับยกย่องให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกใหม่ ให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี 2550 กินพื้นที่เกือบๆ 170,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำยมุนา (Yamuna River) ในสวนโมกุล (Mughal Garden) อำเภออัคระ (Agra District) รัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh)

ที่นี่ถูกสร้างขึ้นโดยสมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน (Shah Jahan) แห่งจักรวรรดิโมกุล เพื่อเป็นอนุสรณ์ความรัก พระองค์มีพระมเหสีพระนามว่า อรชุมันท์ พานุ เพคุม (Arjumand Banu Begum) เจอกันครั้งแรกจักรพรรดิชาห์ชะฮัน อายุได้ 14 พรรษา พระองค์ทรงรัก และหลงใหลพระนางมากเป็น Love at First Sight เลยทีเดียว

หลังจากนั้น 5 ปีทั้งสองพระองค์ก็ได้อภิเษกสมรสกัน พระองค์ตั้งชื่อให้พระนางว่ามุมตัช มาฮาล (Mumtaz Mahal) ทั้งสองพระองค์ทรงรักกันมาก เห็นจักรพรรดิชาห์ชะฮันเมื่อไหร่ก็จะต้องเห็นพระนางอยู่ข้างกายไม่ห่างกันเลย หลังจากพระนางให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 ก็ตกเลือดสิ้นพระชนม์ จักรพรรดิชาห์ชะฮันทรงเสียพระทัยมาก จึงตัดสินพระทัยสร้างทัชมาฮาลขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ความรักต่อพระนางผู้เป็นที่รัก

จักรพรรดิชาห์ชะฮันทุ่มไม่อั้น! ทั้งแรงกาย แรงใจ และแรงเงินมหาศาลเพื่อสร้างอนุสาวรีย์นี้ โดยได้สถาปนิก อุสตาด อาห์เหม็ด ลาเฮารี (Ustad-Ahmad Lahori) เป็นคนออกแบบ ดรีมทีมก่อสร้างก็ไม่ธรรมดาพอๆ กับการรวมเหล่าซูเปอร์ฮีโร่ ตั้งแต่ช่างก่ออิฐ ช่างตัดหิน ช่างฝังเลี่ยม ช่างแกะสลัก ช่างทาสี ช่างอักษร และช่างฝีมือดีอื่นๆ อีกเพียบจากทั่วทั้งอาณาจักรรวมไปถึงเอเชียกลาง และอิหร่าน (Iran) เพื่อร่วมกันทำภารกิจใหญ่ใช้เวลาในการสร้างทั้งหมด 22 ปี! Mission Completed >,<

อาคารทั้งหมดถูกจัดตั้งไว้ภายในสวนรูปทรงเรขาคณิต ทางเดินข้างสระน้ำก็จะเห็นว่าน้ำในสระใสได้โล่ห์มว๊ากก แถมมีออพชั่นเสริมเป็นน้ำพุที่พุ่งสูงสุดๆ อยู่เหนืออนุสาวรีย์สุสานที่เงียบสงบของราชินี สุสานนี้สร้างจากหินอ่อนบริสุทธิ์ ตกแต่งด้วยทอง ประดับด้วยพลอยเนื้ออ่อน หากมาต่างช่วงเวลาก็ได้อรรถรสที่แตกต่างกันนะ อย่างหากมาตอนเช้าวิวก็จะเป็นสีชมพู ตอนเย็นวิวจะเป็นสีขาวเบาๆ แต่ถ้ามากลางคืนวิวก็จะเห็นเป็นแสงสีทองจากแสงของพระจันทร์สวยจนอยากหยุดเวลาเอาไว้ตรงเน้ (>0<)

โดมหินอ่อนของทัชมาฮาลถูกล้อมรอบด้วยหอสูง 4 หอ แต่ละหอจะถูกออกแบบให้มีลักษณะเพรียวเล็กน้อยเพื่อป้องกันกรณีหอใดหอหนึ่งพังลงมา อาคารหินทรายสีแดงก็ถูกสร้างให้ขนาบข้างอนุสาวรีย์หลักทั้งสองด้าน ที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกจะเป็นมัสยิด ส่วนที่ตั้งอีกด้านก็จะเป็นที่รับรองแบบเป็นทางการนั่นเอง

นอกจากโครงสร้างที่มีรูปโค้ง โดมหินอ่อนสีขาวสะอาดตาที่เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นของที่นี่แล้ว ยังมีรายละเอียดความงามอื่นๆ ที่น่าประทับใจในทัชมาฮาลอีก อย่างการฝังอัญมณีเนื้ออ่อน การแกะสลักอักษรเป็นกลอนอัลกุรอาน ทัชมาฮาลเป็นประติมากรรมความงามที่ยอมรับกันว่ายังไม่มีมนุษย์คนใดสามารถทำสำเร็จอย่างนี้ได้อีก จักรพรรดิชาห์ชะฮันเฝ้ามองดูภาพความงามนั้นจนช่วงสุดท้ายของชีวิต ท้ายที่สุดพระองค์ก็ได้ถูกฝังอยู่ข้างนางตลอดกาล สุดแสนจะโรแมนติ๊กกกกกก

 

เที่ยวป้อมอัครา (Agra fort) , เมืองอัครา (Agra)

ป้อมอัครา หรือที่รู้จักอีกชื่อนึงว่าป้อมแดง ตั้งอยู่ที่เมืองอัครา (Agra) อดีตเมืองหลวงของอินเดีย ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา (Yomuna) ในรัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) ห่างจากทัชมาฮาลเป็นระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร เป็นป้อมปราการหินทรายแดงขนาดใหญ่ ที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) !!

อดีตป้อมนี้เป็นเพียงป้อมปราการที่ทำขึ้นจากอิฐ สร้างโดยราชบุตรแห่งวงศ์ศิกวะ (Sikarwar) ก่อนจะมีทัชมาฮาลซะอีก และมีการสร้างเรื่อยมาใช้เวลากว่า 95 ปี เรียกว่าผ่านมาถึงสามยุคของกษัตริย์ในราชวงศ์โมกุลกันเลยทีเดียว เมื่อมาถึงจะเจอกับประตูทางเข้าอามาร์ สิงห์ (Amar Singh Gate) สูงประมาณ 21 เมตร ยาวถึง 2.4 กิโลเมตร ด้านนอกว่าว้าวแล้ว เข้ามาข้างในก็ยังว้าวได้อีกกับชั้นที่สองอย่างฮาติ โพล (Hathi pol) หรือ เอเลเฟ่น เกท (Elephant Gate) กำแพงสู๊งงงที่ในอดีตใครคิดจะบุกเข้ามาก็ต้องมีคิดหนักกันแน่ๆ

อาคารส่วนใหญ่ของป้อมสร้างในสถาปัตยกรรมแบบเบงกอล (Bengal) และคุชราต (Gujarat) ส่วนสิ่งก่อสร้างเด่นๆ ของป้อมอัครามีเพียบ ไม่ว่าจะเป็นพระราชวังชะฮันครี (Jahangir Palace) พระราชวังเดียวที่แยกตัวออกจากกำแพงป้อม สร้างโดยกษัตริย์อัคบาร์ (Akbar) หรือจะเป็นท้องพระโรงสำหรับออกว่าราชการทั่วไปอย่างดิวัน อิ อัม (Diwan-i-am) ท้องพระโรงส่วนพระองค์อย่างดิวัน-อิ-กัส (Diwan-i-Khas) มัสยิด (Masjid) หมู่พระราชมณเฑียรทองที่ตกแต่งอย่างสวยงามของเจ้าหญิงชะฮันนารา เบกุม ซาฮิบ (Jahanara Begum Sahib) และเจ้าหญิงรชนารา เบกุม (Roshanara Begum) พระราชธิดาของจักรพรรดิชาห์ชะฮัน ส่วนด้านนอกก็มีสวนองุ่น อันกุรี บักห์ (Anguri Bagh) สถานที่ประทับสำหรับฟังดนตรีอย่างโนบัต กานา (Naubat Khana) อีกด้วย

ไฮไลท์คือตำหนักหินอ่อนชีชมาฮาล (Shish Mahal) และหอคอยแปดเหลี่ยมมูซัมมัน เบิร์จ (Musamman Burj) ที่มีระเบียงหินอ่อนเปิดออกไปยังฝั่งทัชมาฮาล โดยอดีตจักรพรรดิชาห์ชะฮันเคยถูกคุมขังไว้ที่นี่นานกว่า 8 ปี! โดยพระโอรสของพระองค์เอง เพราะกลัวว่าจักรพรรดิชาห์ชะฮันจะนำเงินในท้องพระคลังไปสร้างหอคอยหินอ่อนสีดำตรงข้ามทัชมาฮาลไว้ฝังพระศพของพระองค์เองเพิ่มอีก จากบริเวณกักขังนี้เองจักรพรรดิชาห์ชะฮัน สามารถมองผ่านแม่น้ำยมุนาไปยังอนุสรณ์ความรักของพระองค์ และพระมเหสีอย่างทัชมาฮาลได้>,<

นอกจากนี้ในอดีตสงครามกบฎอินเดีย ค.ศ. 1857 ที่กลายเป็นจุดสิ้นสุดการปกครองของอังกฤษในอินเดีย ก็มีป้อมอัคราแห่งนี้เป็นสถานที่ต่อสู้ในช่วงเวลานั้นอีกด้วย ที่นี่เค้าเปิดให้เข้าชม 30 นาทีก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ตั๋วเปิดขายก่อนหน้านั้น 15 นาที และเข้าชมได้รอบสุดท้าย 30 นาทีก่อนพระอาทิตย์ตกดินจ้า

เที่ยวเทศกาลโฮลี (Holi Festival)

เทศกาลโฮลี หรือเทศกาลแห่งสีสัน เป็นเทศกาลที่เกิดในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เป็นการเฉลิมฉลองเรื่องราวความดีชนะความชั่วนั่นเอง โดยจะตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี ตามปฏิทินจันทรคติ และสุริยคติของศาสนาฮินดู ซึ่งจะอยู่ราวๆ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือมีนาคมตามปฏิทินสากลในแต่ละปีนั่นเอง

เทศกาลโฮลีจะจัดขึ้น 2 วันโดยคืนแรกของเทศกาลนี้จะมีพิธีกรรมที่เรียกกันว่า โฮลิกาดาฮัน (Holika Dahan) ตามความเชื่อของชาวฮินดู คือการเฉลิมฉลองที่สามารถกำจัดปีศาจร้ายในตำนานที่คิดร้ายผู้อื่นอย่างนางโฮลิกาได้ งานนี้สำเร็จได้เพราะได้รับความช่วยเหลือจากไฟของพระวิษณุนั่นเอง ในวันนี้เลยจะเห็นว่ามีการสุมกองไฟบริเวณวัดฮินดูเชื่อว่าช่วยชำระล้างสิ่งไม่ดีออกไป และระลึกถึงเหตุการณ์ของความดีที่เอาชนะความชั่วได้

ในวันที่ 2 ของเทศกาลเรียกว่า วันธุลันดี (Dhulandi) หรือเรียกกันว่าเทศกาลแห่งความรัก มาจากตำนานที่พระกฤษณะมีใจรักนางธารา แต่น้อยใจที่ตนมีผิวคล้ำต่างกับนางธาราที่มีผิวขาวใส เลยไประบายความคับข้องใจกับมารดา มารดาจึงแนะให้เอาสีไปป้ายที่นางธารา จะได้ปกปิดความต่าง นี่เลยเป็นที่มาของการเล่นสาดสีเพียวๆ หรือสีผสมน้ำใส่กันอย่างสนุกสนานตั้งแต่เช้าไปถึงเที่ยงในวันนี้นั่นเอง โดยหลังเที่ยงไปแล้วชาวอินเดียส่วนใหญ่ก็จะพากันกลับบ้านพักผ่อน แล้วค่อยเตรียมตัวออกมาเฮฮา แจกขนมหวาน สวมกอดกระชับมิตรอีกครั้งในตอนเย็น เป็นเทศกาลที่น่าร๊ากกมากจิงๆ

สำหรับสถานที่แนะนำไปร่วมฉลองเทศกาลนี้ก็มีหลายที่ อย่างกรุงเดลี (Delhi) โดยเฉพาะแถว ปาฮาร์กานจ์ (Paharganj) ที่นอกจากจะสาดสีมันส์กันไม่ยั้งแล้ว ยังมีดนตรี การเต้นรำ สนุกสุดเหวี่ยงจนไม่อยากกลับบ้านเลยจิงๆ เมืองอุทัยปุระ (Udaipur) รัฐราชสถาน (Rajasthan) ที่จะมีการเคลื่อนขบวนของสมาชิกราชวงศ์ผ่านฝูงชนไปยัง พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) อีกด้วย

แต่กิมมิคน่ารักๆ คงต้องยกให้เมืองบาร์ซานา และเมืองนันทกอน (Barsana and Nandgaon) ในรัฐอุตตรประเทศ ที่ในคืนโฮลิกาดาฮัน ชายจากเมืองนันทกอนซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระกฤษณะ จะทั้งถูกไล่ตีจากสาวๆ ขณะไปยังเมืองบาร์ซานา และต้องใส่ชุดผู้หญิงเต้นโชว์หากชักธงแพ้!! แค้นนี้ไม่ต้องรอถึงสิบปี แค่วันรุ่งขึ้นก็ได้เอาคืนสาวๆ ด้วยการไล่สาดสีกลับล๊าวว แต่งานนี้สาวยังมีไม้อยู่ในมือน๊าาา (>0<) ความบันเทิง ตะมุตะมิแบบนี้ต้องไปสัมผัสที่นี่เท่านั้นจ้าา

 

เที่ยวประตูอินเดีย (India Gate), กรุงนิวเดลี (New Delhi)

ประตูอินเดีย มีชื่อเดิมคืออนุสรณ์สถานเหล่าสงครามในอินเดีย (All-India War Memorial) หรือชื่อทางการว่า อนุสรณ์สถานนิวเดลี (Delhi Memorial) ประตูนี้ตั้งอยู่ที่กรุงนิวเดลี (New Delhi) ของอินเดีย ตัวอนุสาวรีย์ทำจากหินทราย สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้เหล่ากองทัพทหารบริติชอินเดียที่เสียชีวิตกว่า 70,000 นาย ในสงครามครั้งที่ 1 ช่วงปี ค.ศ. 1914–1921

และหากเดินเข้าไปดูที่ใกล้ๆ ประตูจะเห็นรายชื่อของเหล่าทหารทั้งจากอินเดีย และอังกฤษกว่า 13,300 นาย ที่เสียชีวิตจากทั้งสงครามชายแดนตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Frontier) รวมถึงสงครามอัฟกันครั้งที่ 3 (Third Afghan War) โดยด้านบนสุดของประตูนั้นสร้างเพื่ออุทิศให้กับเหล่าทหารที่ได้หายสาบสูญไปอีกด้วย

ประตูอินเดียมีซุ้มโค้งกว้าง 9.1 เมตร และสูง 22.8 เมตร ในขณะที่ความสูงของมันทั้งหมดสูงถึง 43 เมตรเลยทีเดียว เป็นการออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษเซอร์เอ็ดวิน ลิทเยนส์ (Sir Edwin Lutyens) แสดงออกถึงความเรียบง่าย คลาสสิคไม่มีลวดลายในแบบเอเชียนใดๆ เลย คล้ายกับประตูชัยฝรั่งเศสในปารีสอย่างอาร์กเดอทรียงค์เดอเลตวล (Arc de tripmphe de l'Étoile) ที่แห่งนี้นอกจากชาวอินเดียนิยมมาเดินเล่น พักผ่อนหย่อนใจแล้ว ยังเป็นที่จัดงานสำคัญๆ อย่างงานวันฉลองเอกราช รวมถึงงานสวนสนามในวันชาติ อีกด้วยค่ะ

 

เที่ยวพระราชวังหลวง (City Palace), เมืองชัยปุระ (Jaipur)

พระราชวังหลวง อยู่ทางเหนือของใจกลางเมืองชัยปุระ (Jaipur) มีขนาดกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่กว่า 1 ใน 7 ของใจกลางเมืองชัยปุระกันเลยทีเดียว พระราชวังได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยมหาราชาสะหวายจัย สิงห์ที่ 2 (Maharaja Sawai Jai Singh II) เพื่อเป็นที่พักผ่อน และอยู่อาศัยของเหล่าสมาชิกราชวงศ์ชัยปุระ ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงอาศัยอยู่กันจ้า

รูปแบบสถาปัตยกรรมแห่งนี้เป็นแบบราชปุตผสมกับโมกุล เพราะสมัยก่อสร้างแรกๆ ขณะนั้นราชวงศ์โมกุลได้เข้ามามีอิทธิพลในรัฐราชสถานแล้วนั่นเอง ที่นี่มีชื่อเสียงในเรื่องความงามของจิตรกรรมฝาผนัง การแกะสลัก งานตกแต่งด้วยแก้ว หรือแม้แต่กระเบื้องสวยๆ ประตูหลักของที่นี่มีอยู่สามจุดด้วยกันได้แก่ ประตูวิเลนดร้า พอล (Virendra Pol) ประตูอุได พอล (Udai Pol) ที่คนทั่วไปสามารถเข้าออกได้ แต่สำหรับประตูตริโปเลีย (Tripolia Gate) จะมีไว้สำหรับสมาชิกราชวงศ์เท่านั้นจ้า นอกจากนี้ยังมีกิมมิคเป็นประตูเล็กๆ อีกสี่ประตูที่แสดงออกถึงฤดูกาลทั้งสี่นั่นเอง ได้แก่นกยูงหรือ มอร์เกท (Mor Gate) หมายถึงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งมีลวดลายของนกยูงสวยงามที่ซุ้มประตู ประตูดอกบัว (Lotus Gate) ที่เป็นสัญลักษณ์ของฤดูร้อน ประตูเลเรีย (Leheriya gate) เป็นฤดูใบไม้ผลิ และประตูกุหลาบ (Rose Gate) หมายถึง  ฤดูหนาวนั่นเอง ทั้งสี่ประตูถูกตกแต่งอย่างสวย ขอถ่ายรูปฟินก่อนไม่รอล๊าววน้าา

ภายในพระราชวังหลวงมีพระตำหนัก สวน พื้นที่พักอาศัยของราชวงศ์ และส่วนที่เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์สะหวายมาน สิงห์ (Sawai Man Singh Museum) จัดแสดงสมบัติราชวงศ์มากมายอย่างภาพวาด ของใช้ หรือเสื้อผ้าอีกด้วย นอกจากนี้ไม่ใกล้ไม่ไกลก็มีอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิตที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกในปี ค.ศ. 2010 โดยองค์การยูเนสโก อย่างหอดูดาวจันตาร์มันตาร์ (Jantar Mantar) ที่ถูกสร้างในยุคมหาราชาสะหวายจัย สิงห์ที่ 2 เช่นกัน เพื่อเอาไว้คำนวณฤกษ์ และเวลาสำหรับการออกรบนั่่นเอง ที่นี่เปิดทุกวันเวลา 09.30 – 17.00 น. ค่าเข้าชมพระราชวัง 500 รูปี และค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ 900 รูปีจ้า

 

เที่ยวพระราชวังสายลม (Hawa Mahal), เมืองชัยปุระ (Jaipur)

พระราชวังสายลม หรือฮาวา มาฮาล (Hawa Mahal) ตั้งอยู่ที่เมืองชัยปุระ (Jaipur) ในรัฐราชสถาน (Rajasthan) สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1799 โดยมหาราชาไสว ประธาป สิงห์ (Maharaja Sawai Pratap Singh) เพื่อให้สนมนางใน หรือสตรีในราชวงส์ใช้เป็นที่ชมชีวิตประจำวันของประชาชนในเมือง หรือกิจกรรมต่างๆ ที่เคลื่อนผ่านพระราชวังนั่นเอง

ที่นี่ได้รับการออกแบบโดยลาล ชันด์ อุสถัด (Lal Chand Ustad) โดยมีสไตล์แบบราชปุตที่มีการถอดแบบจากมงกุฏของพระนารายณ์ ตัวอาคารสูงทั้งหมด 5 ชั้น หรือราว 15 เมตรลัก ษณะเหมือนรังผึ้ง หากดูไปที่แต่ละชั้นจะเห็นว่ามีการประดับด้วยระเบียงหินอ่อนที่ถูกแกะสลักเป็นลวดลายตาข่าย งานละเอียดม๊ากก พูดเลย

และไฮไลท์อยู่ที่การฉลุช่องลมที่บริเวณหน้าต่างกว่า 953 ช่อง ที่นอกจากช่วยให้อากาศไหลเวียนได้ดีสมชื่อพระราชวังสายลมแล้ว ยังเอาไว้สำหรับให้นางในที่อาศัยอยู่ในวังได้แอบมองออกมาภายนอกแบบไม่มีใครดูออก! ใครดูออกก็เก่งมากกจริงๆ ว่ามั้ย (^0^) แต่ถึงจะไม่ได้เป็นสนมนางในก็มีสิทธิ์ขึ้นไปสัมผัสวิวหลักล้านของเมืองชัยปุระ ผ่านช่องหน้าต่างลวดลายตาข่ายที่ชั้นบนสุดของพระราชวังได้นะจ๊ะ แต่อาจต้องยอมเหนื่อยสักนิดด้วยการเดินขึ้นบันไดที่ทั้งสูง ทั้งชัน แต่รับรองว่าคุ้มค่ามากเวอร์ นอกจากนี้ภายในยังมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมสิ่งประดิษฐ์ และประวัติของพระราชวังแห่งนี้เอาไว้อีกด้วยน้าา ถูกใจสายเที่ยวด้วย มีสาระด้วยแน่นวลล ที่นี่เปิดทุกวันยกเว้นวันศุกร์ตั้งแต่ 9:00-16:30 น.จ้า

 

เที่ยวป้อมปราการแอมเบอร์ (Amber Fort), เมืองชัยปุระ (Jaipur)

ป้อมปราการแอมเบอร์ หรือป้อมอาเมร์ (Amer Fort) ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดของเมืองชัยปุระเลยก็ว่าได้ ป้อมนี้ห่างจากชัยปุระไปทางตะวันออกขับรถใช้เวลาประมาณ 30 นาที ตั้งอยู่บนหน้าผาเหนือทะเลสาบเมาตา (Maota) ในเมืองอาเมร์ (Amer) สร้างโดยราชา มาน สิงห์ที่ 1 (Raja Man Singh I) ในปี ค.ศ. 1592 นั่นเอง ที่นี่เคยเป็นที่ประทับของมหาราชา รวมไปถึงราชวงศ์อาเมร์ในอดีตอีกด้วยจ้า

ป้อมปราการนี้มีกำแพงที่ทั้งใหญ่ และยาวกว่า 13 กิโลเมตร เลยไม่แปลกถ้าจะสามารถมองเห็นได้จากที่ไกลๆ ที่นี่มีชื่อเสียงเรื่องสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์จากการผสมผสานศิลปะฮินดู และศิลปะแบบราชปุต (Rajput) เข้าไว้ด้วยกัน หนึ่งในสีสันของการเที่ยวที่นี่คือ การได้นั่งช้างเพื่อขึ้นไปยังป้อมนั่นเอง นอกจากจะเพลินกับวิวสองข้างทางแบบโยกไปมาตามจังหวะของพี่ช้างแล้ว! พอถึงป้อมก็จัดเต็มกันไปเลยกับวิวหลักล้านของเมือง และทะเลสาบ โมเม้นท์นี้เอาอารายมาแลกก็ไม่ย๊อมม

หลังจากสตั๊น! ไปกับความงามภายนอกป้อมแล้ว ก็มาทึ่งกับความงามภายในป้อมกันต่อ ที่นี่เรียกว่าสวยทุกรูขุมขนจริงๆ ทั้งบรรยากาศภายในไปจนถึงการสลักลวดลาย หรือภาพวาด โดยที่นี่จะถูกเรียกอีกชื่อนึงว่าพระราชวังอาเมร์ (Amer Palace) เพราะด้วยลักษณะภายในของเค้าจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ชั้น ด้วยทางเดินที่กว้างขวาง มีพระที่นั่งที่ทำจากหินอ่อน และหินทรายแดง ทั้งดิวัน-อิ-อัม หรือท้องพระโรง ดิวัน-อิ-กัส หรือท้องพระโรงส่วนพระองค์ ชีชมาฮาล พระตำหนักของมหาราชาประดับด้วยกระจกทั้งโมเสก และกระจกสีต่างๆ จัย มานดีร์ (Jai Mandir) พระตำหนักที่มีกำแพงหินอ่อนแกะสลักสวยงามมากซึ่งอยู่ที่ชั้นสองนั่นเอง และสุกห์นิวาส (Sukh Niwas) พระตำหนักที่จะให้ความเย็นสบายอยู่ตลอดเวลา เพราะโดยรอบตำหนักจะมีกลไกการให้ลมเป่าผ่านรางน้ำตกนั่นเอง เริ่ดด! นอกจากนี้ก็มี อารัม บักห์ (Aram Bagh) สวนรูปดาวแฉกสไตล์โมกุลสวยกรุบกริบที่จะมีให้เห็นระหว่างอาคารอีกด้วย ป้อมปราการแอมเบอร์เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 8:00 น. - 17:30 น. จ้า

เที่ยวตามรอยพระพุทธศาสนา สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน

หนึ่งในความฝันของชาวพุทธทุกคนก็คือ การมีโอกาสได้ไป ตามรอยพระพุทธศาสนา สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน หรือการได้ไปเยี่ยมชมสังเวชนียสถานทั้ง 4 ของพระพุทธเจ้าสักครั้งในชีวิตนั่นเอง ขอเชิญทุกท่านมาร่วมเดินทางไปด้วยกันเลยค่ะ

ลุมพินีวัน (Lumbini Vana) อยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์ (Kapilavatthu) กับ เมืองเทวทหะ (Devadaha) ของประเทศเนปาล ติดกับชายแดนประเทศอินเดีย ทางตอนเหนือของเมืองโคราฆปุระ (Gorakhpur) ของอินเดีย จัดเป็นสังเวชนียสถานที่แห่งเดียวที่ไม่ได้อยู่ในอินเดีย ในสมัยพุทธกาลนั้นเจ้าชายสิทธัตถะได้ประสูติที่นี่นั่นเอง ภายหลังจากท่านปรินิพพานไปแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราช (Ashoka the Great) ได้การสร้างเสาหินที่เรียกว่า เสาอโศก (Pillars of Ashoka) โดยเพื่อจารึกไว้ว่าพระพุทธเจ้าได้ประสูติตรงนี้

ภายในลุมพินีเองก็มีวัดมากมาย รวมไปถึงวัดไทยลุมพินี (Royal Thai Monastery Lumbini Nepal) ที่คนไทยรู้จักกันดี ลุมพินีวันได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกประเภทมรดกทางวัฒนธรรมจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) อีกด้วย งานนี้ยิ่งกว่าอิ่มทิพย์อีกจ้า

พุทธคยา (Bodh Gaya) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สังเวชนียสถานแห่งนี้อยู่ในรัฐพิหาร (Bihar) ประเทศอินเดีย ที่นี่มีองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมสูงถึง 51 เมตร รายล้อมไปด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญๆ อย่างเช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ประทับตรัสรู้อย่างพระแท่นวัชรอาสน์ และที่สำคัญคือ วัดมหาโพธิ์ บริเวณพุทธสถานที่อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั่นเอง แค่ได้ไปนั่งใต้ต้นโพธิ์ ก็รู้สึกชื่นกาย สบายใจแน่นอนค่ะ ที่สำคัญวัดมหาโพธิ์ ที่พุทธคยาแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกประเภทวัฒนธรรม โดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 2002 บริเวณรอบๆ ของพุทธคยา ยังมีวัดมากมายรวมถึงวัดไทยพุทธคยา ซึ่งเป็นวัดไทยแห่งแรกในอินเดียอีกด้วยค่ะ

ถัดมาเป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้าที่ สารนาถ (Sarnath) สังเวชนียสถานแห่งนี้ห่างจาก เมืองพาราณสี (Baranasi) ไปทางเหนือ 9 กิโลเมตร ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย มีพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สำคัญเรียกว่า ธรรมเมกขสถูป (Dhamekh Stupa) เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5

และสถานที่สุดท้ายที่ต้องตามรอยคือ เมืองกุสินารา (Kusinagar) รัฐอุตตรประเทศ อินเดีย สังเวชนียสถานแห่งนี้เป็นที่ตั้งของป่าไม้สาละ หรือสาลวโนทยานที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน มีสถูปขนาดใหญ่สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช ภายในบรรจุพระอัฐิของพระพุทธเจ้าอยู่ในนั้น รวมทั้งมีพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ภายในวิหารปรินิพพานอีกด้วย

ไปสักการะครบทั้ง 4 สังเวชนียสถานแล้ว ขอเชิญทุกท่านร่วม อนุโมทนาสาธุ..

ขออัญเชิญอานุภาพ คุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ตลอดจนอานิสงส์ผลบุญกุศล ขอได้โปรดจงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัว ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และประสพแต่ความสุข ความเจริญ ด้วยจตุรพิธพรชัย มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณสารสมบัติทุกท่าน ทุกประการด้วยเทอญ สาธุ..

เที่ยวแม่น้ำคงคา, เมืองพาราณสี (Varanasi)

พาราณสี หนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นับย้อนไปในศตวรรษที่ 11 ได้มีการตั้งถิ่นฐานที่นี่ ชาวฮินดูมากมายเชื่อว่าการมาที่เมืองพาราณสีนี้สามารถทำให้พ้นบาป หรือนิพพานได้ ดังนั้นเขาเหล่านั้นจะมายังที่แห่งนี้เมื่อรู้ตัวว่า ใกล้ถึงวาระสุดท้ายของชีวิตแล้ว ที่นี่เราสามารถพบเห็นได้ตั้งแต่การเผาศพ และสิ่งปฏิกูลมากมายในแม่น้ำคงคา (Ganga River) หรือแม้แต่ความตายบนแม่น้ำคงคาที่คดเคี้ยวผ่านตรอกซอกซอยในเมืองเก่า ไปจนถึงภาพการสักการะแม่น้ำคงคาของเหล่านักบุญในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ตัดกับฉากหลังของวัดเก่าแก่อายุหลายศตวรรษ เป็นภาพที่ทำให้หลายคนได้ค้นพบสัจธรรมของชีวิต เห็นความไม่เที่ยงที่เป็นความจริงแท้ ของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (เราจะได้เห็นภาพ และสัมผัสถึงบรรยากาศของความตายรอบๆ ตัว ดังนั้นหากท่านใด รู้สึกสะเทือนใจ ยังไม่พร้อม แนะนำให้เลี่ยงบริเวณนี้ค่ะ)

แม่น้ำคงคาในพาราณสี แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวฮินดู มีการทำพิธีกรรมโบราณตามความเชื่อ และศรัทธา การอาบน้ำล้างบาปตลอดทั้งวัน หากเรามองไปทางฝั่งตะวันออกของแม่คงคาก็จะเห็นผืนทรายขนาบไว้อยู่ เจ้าผืนทรายลักษณะเหมือนเข็มขัดนี้กว้างใหญ่กว่า 300 เมตร วางตัวพาดเหนือพื้นที่สีเขียว ซึ่งตรงนี้เป็นพื้นที่อนุรักษ์สงวนไว้สำหรับเพาะพันธ์ุเต่านั่นเอง ส่วนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำคงคาที่เป็นรูปทรงพระจันทร์เสี้ยวจะถูกขนาบด้วยท่าน้ำ 84 ท่า รวมมีบันไดที่ทอดยาวลงสู่แม่น้ำคงคายาวกว่า 6.8 กิโลเมตร ท่าน้ำเหล่านี้ถูกสร้างโดยเหล่ากษัตริย์ชาวฮินดูที่ต้องการตายไปในแม่น้ำคงคา กษัตริย์เหล่านั้นก็ได้สร้างพระราชวังสุดอลังการสูงตระหง่านริมน้ำ ที่ส่วนใหญ่ตอนนี้กลายเป็นโรงแรมไว้ใช้ชีวิตในช่วงสุดท้ายของชีวิตค่ะ!!

การดื่มด่ำบรรยากาศริมน้ำ และท่าน้ำ (Ghats) ที่เป็นทางเดินลงสู่แม่น้ำคงคา อาจต้องเตรียมใจเรื่องของอากาศร้อนขั้นเทพโดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน ถ้ามาในช่วงฤดูใบไม้ร่วงราวๆ เดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคมอากาศก็จะดีกว่า แต่กลางคืนมันก็จะหนาวๆ หน่อย ส่วนเวลาเดินหาท่าน้ำบางทีอาจจะมีหลงบ้างอะไรบ้าง แต่ไม่เป็นไร ถามทางชาวบ้านแถวนั้นเอง นักเลงพอจ้า>,<

ชื่อของท่าน้ำ และสัญลักษณ์ไปร้านอาหาร โรงแรมต่างๆ จะถูกวาดอยู่บนกำแพงด้วยอักษรโรมัน แนะนำว่าลองแวะไปที่ร้านหนังสือหยิบแผนที่แนะนำเส้นทางติดมาด้วยก็ดีจ้า ในนั้นจะมีรายละเอียดรายชื่อท่าน้ำพร้อมประวัติครบจบในที่เดียวเล้ยย เลิศกว่านี้ไม่มีล๊าวว แต่มีอย่างนึงที่แปลกคือเวลาเดินในเมืองพาราณสี ถ้ามีการใช้ยานพาหนะบนทางคนเดินเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้ห้ามอะไร!! งานนี้ไม่ว่าถนนจะแคบแค่ไหนก็ต้องเดินดีๆ หลบเข้าข้างทางป้องกันมอเตอร์ไซด์ขับมาชนด้วยนะจ๊ะ ฮึบๆ

ในการเดินชมบรรดาท่าน้ำต่างๆ วิธีที่นิยม และดีที่สุดคือการนั่งเรือ ชาวฮินดูเชื่อว่าการตายในเมืองพาราณสีเป็นเรื่องดีเรื่องมงคล ดังนั้นจะมีท่าน้ำบางท่าที่ใช้เป็นที่เผาศพโดยเฉพาะ และปกติจะมีศพให้เผากว่า 200 ศพต่อวัน ก่อนจะกลายเป็นขี้เถ้าและนำไปโปรยลงสู่แม่น้ำคงคาต่อไป (-/\-)

เที่ยวนครสีทองจัยซัลเมียร์ (Jaisalmer Golden City), เมืองจัยซัลเมียร์

(Jaisalmer)

นครสีทองจัยซัลเมียร์ ห่างจากเมืองชัยปุระ (Jaipur) ออกไปทางตะวันตก 575 กิโลเมตร ถึงแม้อากาศจะทั้งร้อน และแห้งแล้ง ภาพแสงแดดที่สาดส่องลงบนพื้นที่อาคารบ้านเรือน ทำจากหินทรายสีเหลืองบนที่ราบสูงกลางทะเลทรายธาร์ (Thar Desert) เกิดเป็นวิวสีทองเหลืองอร่ามงามนักๆ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยวที่เมืองแห่งนี้ไม่ไกลจากชายแดนปากีสถานมากนัก

นอกจากนี้ยังมีป้อมจัยซัลเมียร์ (Jaisalmer Fort) ป้อมปราการขนาดใหญ่ที่อยู่บนยอดเขาใจกลางเมือง แตกต่างจากป้อมอื่นๆ ในอินเดีย ตรงที่ปกติแล้วป้อมจะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มีตั๋วเข้าชม แต่สำหรับที่นี่ใจดีให้เข้าฟรีจ้าา ภายในมีประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ยาวนานแถมไม่มีเวลาเปิด และปิด ไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย บรรยากาศภายในก็ผ่อนคลาย สามารถเข้าดูภายใน แวะร้านขายอัญมณีท้องถิ่น ดูงานสิ่งทอ และพรมที่สวยแปลกตาสุดๆ ขอบอก!!!งานทอสวยๆ ในอินเดียส่วนใหญ่ก็ถูกทำขึ้นที่เมืองจัยซัลเมียร์นี่เองล่ะจ้า

อีกหนึ่งสถานที่ที่ห้ามพลาดในเมืองจัยซัลเมียร์ คือการชมวิหารเชน (Jain Temple) ภายในป้อมจัยซัลเมียร์ ที่มีทั้งประวัติศาสตร์ ที่มาเบื้องหลังสิ่งประดิษฐ์ รวมถึงการออกแบบ และงานแกะสลักที่สวยสุดพลัง วิหารเชนอยู่ใกล้ๆ ลานจอดรถหลัก ถึงป้อมจัยซัลเมียร์จะมีลักษณะเป็นเขาวงกต แต่ไม่ต้องกลัวหลงนะจ๊ะ มีป้ายบอกทางเพียบ หรือถามพนักงานขายของแถวๆ นั้นก็ได้ คนอินเดียเค้าใจดีน้าา

ยัง! ยังไม่หมด เมืองนี้เค้ายังมีอนุสรณ์สถานบาดาแบกห์ (Bada Bagh) สุสานของคนในครอบครัวของมหาราชา (Maharaja) ทั้งเงียบสงบ และสวยงามม๊ากก หรือจะไปหลบร้อนไปดูทะเลสาบกาดิซาร์ (Gadisar Lake) แหล่งน้ำที่สำคัญของเมืองนี้ สามารถไปนั่งชิลริมทะเลสาบ สูดบรรยากาศดี๊ดี ดูปลาดุกว่ายไปมาก็ช่วยให้รู้สึกเย็นขึ้นมาได้นิดส์นึง หากยังไม่หนำใจ ไปดูฮาเวลี (Haveli) สิจ๊ะ แมนชั่นหรูสำหรับคนมีฐานะในอดีต หรูหราเวอร์วังสุดๆ แบบนี้ก็ต้องถ่ายรูปอัพเฟซวนไปสิคะ

อีกหนึ่งไฮไลท์เอาใจคอผจญภัยที่ชอบความสโลว์ไลฟ์ ด้วยการนั่งอูฐในทะเลทรายธาร์สำรวจเมืองจัยซัลเมียร์ ที่สุดของการเที่ยวในแถบตะวันตกของรัฐราชสถาน (Rajasthan) หลบหนีจากความวุ่นวายไปชมแซม แซน ดูน (The Sam Sand Dunes) สวยทุกรูขุมขนขนาดนี้ ร้อนแค่ไหน ศรีทนได้ค่าาาา

 

เที่ยววิหารทองหริมันทิรสาหิบ (Harmandir Sahib), เมืองอมฤตสระ (Amritsar)

วิหารทองหริมันทิรสาหิบ หนึ่งในสุดยอดสถานที่ทางจิตวิญญาณของอินเดีย เป็นศาลเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาซิกข์ที่ยังมีอยู่ด้วยความศรัทธาทางศาสนาที่แรงกล้า จัดเป็นศาสนสถานในศาสนาซิกข์ที่สวยงามที่สุดเลยก็ว่าได้

หลังจากผ่านช่วงปั่นป่วนมีการถูกรื้อถอน ที่แห่งนี้ก็ได้ถูกสร้างใหม่ในยุคมหาราชารานจิต สิงห์ (Maharaja Ranjit Singh) ปี ค.ศ. 1830 ด้วยหินอ่อน และทองคำล้วนๆ เป็นศาลเจ้าที่มีความโชติช่วงเป็นประกาย สร้างขึ้นท่ามกลางสระน้ำ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองอมฤตสระ (Amritsar) รัฐปัญจาบ ทางเหนือของอินเดีย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นพี่เป็นน้อง และความเท่าเทียม เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวซิกข์

ที่นี่มีประตูเข้าออก 4 ทาง มีพิพิธภัณฑ์ซิกข์อยู่ทางด้านในทางเข้าหลักหอนาฬิกาด้วย หากมาดูตอนกลางคืนจะเห็นแสงไฟส่องมาที่ตัววิหารทอง ไม่แปลกใจเลยที่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกพากันมาเชคอินอยู่ตลอดเลย>,<

 

เที่ยวพระราชวังทะเลสาบ (Taj Lake Palace), เมืองอุทัยปุระ (Udaipur)

พระราชวังทะเลสาบทัช หรือเวนิสแห่งตะวันออก ถูกสร้างโดยเจ้าชายน้อยมหาราชาชกตสิงห์ที่ 2 แห่งเมืองอุทัยปุระ วังแห่งความสุขนี้สร้างขึ้นบน ทะเลสาบพิโชล่า (Lake Pichola) ได้รับการบูรณะให้สวยงามประณีต และยิ่งเป็นที่รู้จักมีชื่อเสียงในระดับโลก เมื่อหนังดังอย่างเจมส์บอนด์ตอน ออคโทพุซซี่ (Octopussy) มาถ่ายทำที่นี่ ในฉากหลบซ่อนตัวของสาวบอนด์ (Bond Girl)

ปัจจุบันได้ถูกดัดแปลงเป็นโรงแรมหรู มีห้องพัก 65 ห้อง ห้องแกรนด์สวีทอีก 18 ห้อง ตั้งอยู่บนเกาะท่ามกลางทะเลสาบเงียบสงบ ใครที่ไปพักก็เต็มอิ่มกันไปเลยกับวิวแบบพาโนรามาของ ของซิตี้ พาเลซ (City Palace) หุบเขาอราวาลี (Aravalli Hills) เนินเขามัชลา มากรา (Machla Magra Hills) รวมทั้ง เจ็กมันเดร์ (Jag Mandir) ทานอาหารรสเลิศที่ห้องอาหารสุดหรูไป ดูวิวเมพๆ ไป เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอมม>,<

ร้านอาหารที่นี่เปิดให้บริการเฉพาะคนที่มาเข้าพักเท่านั้นนะจ๊ะ วีไอพีสุดๆ แถมเค้ามีตัวเลือกมากมายทั้งนีล กามัล (Neel Kamal) ที่มีอาหารแบบราชสถาน (Rajasthani) ของแท้ดั้งเดิม พร้อมอาหารอินเดียอื่นๆ อีกมากไว้คอยบริการ อร่อยลิ้น แล้วยังฟินกับบริการดี๊ดี ยกนิ้วโป้งให้เล้ยย หากชอบอาหารสไตล์ยุโรปร่วมสมัยบรรยากาศกลางแจ้งที่จะมีตามฤดูกาลเท่านั้น ก็ต้องที่ห้องอาหารบัยโร (Bhairo) เลยจ้า และต้องไม่ลืมเก็บท้องรอกินตอนเย็นต่อกับเมนูมาตินี่ ค็อกเทล ที่เป็นซิกเนเจอร์ของที่นี่เค้าด้วย รวมถึงบรรดากองทัพเหล้านานาชาติระดับพรีเมี่ยมที่บาร์อัมริท ซาการ์ (Amrit Sagar) อื้อหือออ ฟินเฟร่ออออ>,<

อร่อยท้องแล้วก็มาผ่อนคลายกันต่อที่จีว่า สปา (Jiva Spa) ล่องเรือสปาที่ไม่เหมือนใคร แถมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำสปาก็เป็นภูมิปัญญาด้านสุขภาพแบบโบราณของอินเดีย นวดเบาสบาย แถมบริการไฮโซอย่างกับราชา แบบนี้ไม่ให้เลิฟยังไงไหว ใครกำลังงอนๆ กันอยู่ ชวนมาง้อที่พระราชวังกลางน้ำนี้เลย มาจัดงานแต่งในธีมเทพนิยายก็เลิศ เสร็จงานแต่งก็ต่อด้วยฮันนีมูนซะเลย ว้าวว!!

[caption id="attachment_22667" align="alignnone" width="1258"] เครดิตภาพ: tajhotels.com[/caption]

 

เที่ยวป้อมปราการเมห์รานการห์ (Mehrangarh Fort), เมืองจูดห์ปุระ (Jodhpur)

ป้อมปราการเมห์รานการห์ ป้อมนี้ตั้งอยู่ในจูดห์ปุระ (Jodhpur) รัฐราชสถาน สร้างโดยมหาราชาเรา โยธา (Maharaja Rao Jodha) ได้ชื่อว่าเป็นอนุเสาวรีย์ทางธรณีวิทยาแห่งชาติอินเดีย (National Geological Monument) โดยการสำรวจทางธรณีวิทยาของอินเดีย (Geological Survey of India) เป็นหนึ่งในป้อมที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย! แถมเป็นหนึ่งในสี่พระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย! และเป็นจุดชมวิวเมืองจูดห์ปุระที่ดีที่สุดอีกด้วยจ้า เลอค่าจริงๆ

ป้อมนี้ตั้งอยู่สูงเหนือเมืองถึง 125 เมตร ล้อมรอบด้วยกำแพงหนาทึบมากๆ ภายในมีพระราชวังอยู่หลายแห่งที่มีชื่อเสียงเรื่องงานแกะสลักขนาดใหญ่ และมีความซับซ้อน พอเข้ามาก็จะเห็นรอยที่เกิดจากการโจมตีของกองทัพชัยปุระ (Jaipur) ที่ประตูที่สอง ส่วนทางด้านซ้ายของป้อมเป็นชาตรี ออฟ กิรัต สิงห์ โซดา (Chhatri of Kirat Singh Soda) ทหารที่ยอมสละชีวิตเพื่อปกป้องป้อมเมห์รานการห์นั่นเอง

ในป้อมเมห์รานการห์มีทั้งหมด 7 ประตูด้วยกัน เช่นประตูยอดฮิตอย่างประตูชัยพล (Jayapol) ที่แปลว่าชัยชนะ สร้างในสมัยมหาราชา มัน สิงห์ (Maharaja Man Singh) สร้างเพื่อแสดงถึงชัยชนะจากการรบกับกองทัพชัยปุระ และบิคาเนอร์ (Bikaner) ส่วนอีกประตูที่นักท่องเที่ยวนิยมไปไม่แพ้กันเป็นอนุสรณ์แสดงถึงชัยชนะของมหาราชา อะชิต สิงห์ (Maharaja Ajit Singhji) ต่อกองทัพโมกุล (Mughals) นั่นก็คือ ประตูฟัตเตห์พล (Fattehpol) ซึ่งก็แปลว่าชัยชนะเหมือนกัน ยืนหนึ่งชนะเลิศตัลหลอดดด

สำหรับพิพิธภัณฑ์ภายในป้อมเมห์รานการห์จัดเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่มีของดีที่สุดในราชสถานเลยทีเดียว มีทั้งเกี้ยวของราชวงศ์ในอดีต รวมถึงเกี้ยวโดมสีทองประณีตสวยงามที่ได้จากการชนะการต่อสู้จากผู้ว่าการรัฐคุชราต (Governor of Gujarat) พิพิธภัณฑ์จัดแสดงมรดกของเผ่าราทอส (Rathores) ทั้งเครื่องแต่งกาย ภาพวาด ต่างๆ ไว้เพียบ งานดีงานเด่น แถมสวยเวลสูงขนาดนี้รีบตามมาเช็คอินด่วนเล้ยยย

 

เที่ยวเลห์ ลาดัก (Leh-Ladakh)

เลห์ (Leh) เป็นเมืองในเขตเลห์ของรัฐชัมมู และกัศมีร์ (Jammu and Kashmir) รัฐทางเหนือสุดของอินเดีย ดินแดนส่วนมากตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย เลห์เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรหิมาลัยของลาดัก (Ladakh) นั่นเอง ลาดักเป็นสถานที่สุดยอดสำหรับคนที่รักการปีนเขาเป็นชีวิตจิตใจ เพราะมียอดเขาสามลูกที่สูงที่สุดในโลก! แถมที่นี่ยังมีบรรยากาศของพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมทิเบตแบบเจ้มจ้น ตั้งแต่สถาปัตยกรรมไปจนถึงอาหารการกินให้ฟีลแบบชาวตะวันออกแบบสุดๆ ไปเลยจ้าา

เลห์ ลาดัก รอบล้อมไปด้วยวิวเนินเขาที่มีพืชพรรณปกคลุม หุบเขากว้างใหญ่รกร้าง ภูเขาหินสูงชันขรุขระ หิมะหนา ภาพอารามวิหาร และน้ำใสใส ซึ่งส่วนใหญ่มักจะกลายเป็นน้ำแข็ง หากมาในช่วงหน้าหนาวก็เตรียมสัมผัสความพีคของสภาพอากาศที่หนาวถึงขีดสุด วิวหิมะปกคลุมไปทั่วสวยสะพรึงจนแทบหยุดหายใจ ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวมากมายเดินทางมาที่จาดาร์ เทรค (Chadar-Trek) ข้ามแม่น้ำแซนสการ์ (Zanskar River) อันยิ่งใหญ่ และเย็นยะเยือกถูกใจสายผจญภัยจากทั่วโลกเป็นที่ซู้ดดด

สำหรับใครที่กลัวความหนาวให้มาช่วงหน้าร้อนจ้า ดีงามเกร๋กรู๊ดไม่แพ้กัน เพราะหิมะจะละลาย และมีกิจกรรมดีๆ สร้างสีสันมีชีวิตชีวาอย่างเทศกาลเฮมิส เฟสติวัล (Hemis Festival) ชาวพื้นเมืองจะแต่งกายในชุดท้องถิ่นสีสันสดใส ออกมาเต้นรำให้ได้กดกล้องถ่ายรูปรัวๆ เราสามารถนั่งบนหลังจามรีสำรวจเมืองแบบเพลินๆ ได้อีกนะ หรือจะช็อปสินค้าพื้นเมืองทิเบต งานนี้เผาผลาญไวกว่าแคลอรี่ก็มันนี่นี่แหล่ะค่า>,<

ว่าแล้วก็สลับอารมณ์มานั่งสมาธิในวัด จากนั้นนั่งสวยๆ ดูวิวฟินๆ ของธรรมชาติ ตัดกับภาพวัดเก่าแก่หลายศตวรรษ ตามด้วยการจิบชาสีชมพู หรือทำกิจกรรมเดินทางไกล เดินป่า ตั้งแคมป์ ไต่เขา ปีนหน้าผา และอีกมากมาย ทริปนี้แฮปปี้มากเวอร์พูดเลอ

 

เที่ยวถ้ำเอลโลร่า (Ellora Caves), เมืองออรังคาบัด (Aurangabad)

ถ้ำเอลโลร่า อยู่แถบเทือกเขาสหยาทรี (Sahyadri) ในออรังกาบาด (Aurangabad) ใช้เวลาขับรถประมาณ 2 ชั่วโมงจากถ้ำอชันตะ (Ajanta) ห่างจากมุมไบ (Mumbai) 400 กิโลเมตร จัดเป็นหนึ่งในวัดถ้ำแกะสลักจากหินที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลก! แถมเป็นหนึ่งในมรดกโลกขององค์การยูเนสโก จัดเป็นผลงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดชิ้นหนึ่งในอินเดียโบราณเลยค่ะ

ถ้ำเอลโลร่ามีทั้งวิหารฮินดู พุทธ และเชน แถมยังเป็นที่พักสำหรับพระสงฆ์ทั้งชาวพุทธ ชาวเชนอีกด้วยนะ ยกนิ้วขึ้นมานับไปมา..1..2..3...ก็มีทั้งหมดร่วมกว่า 100 ถ้ำเอ๊งง กรุบกริบๆ แต่เค้าเปิดให้ประชาชนเข้าชมแค่ 34 ถ้ำเท่านั้นนะจ๊ะ ถ้ำที่นี่ถูกขุดจากหน้าผาหินบะซอลต์ใน เขาจารานนันดรี (Charanandari hills) มีถ้ำในศาสนาฮินดู 17 แห่ง ถ้ำศาสนาพุทธ 12 แห่ง และถ้ำศาสนาเชนอีก 5 แห่ง มีเทวรูปแกะสลัก รวมถึงวัดที่แสดงตำนานของแต่ละศาสนาอีกด้วย ดีงามมากกก

ถ้ำเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นใกล้ๆ กัน เพื่อแสดงออกถึงความเชื่อที่สอดคล้อง ไปในทำนองเดียวกันจ้า ส่วนหนึ่งของถ้ำฮินดู และพุทธถูกสร้างในช่วงราชวงศ์รัชตรากุตะ (Rashtrakuta Dynasty) ถ้ำเชนสร้างขึ้นในช่วงราชวงศ์ยาดัฟ (Yadav Dynasty) ค่ะ

สถาปัตยกรรมของถ้ำเอลโลร่า ถึงแม้ว่าเทวรูปต่างๆ จะได้รับความเสียหาย แต่งานภาพเขียน และงานแกะสลักก็ยังอยู่เหมือนเดิมอย่างรัชตรากุตะ ตันติทรคา (Rashtrakuta Dantidurga) ที่มีชื่อเสียงในถ้ำคือหมายเลข 15 นั่นเอง

สำหรับอนุสาวรีย์ของศาสนาฮินดูอย่างถ้ำหมายเลข 16 หรือวิหารไกรลาส (Kailasha Temple) ถูกสร้างโดยกษัตริย์กฤษณะที่ 1 (Krishna I) อุทิศให้กับพระศิวะ และจัดเป็นประติมากรรมแกะสลักจากหินเพียงก้อนเดียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ได้ถูกขุดขึ้นในโลก!! ตัววิหารตั้งอยู่ที่พำนักของพระศิวะบนเขาไกรลาส (Mt Kailash) มีลักษณะของวิหารฮินดูทั่วไปคือ มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ตั้งขององคชาติ โยนี หรืออวัยวะเพศหญิง มีพื้นที่สำหรับการเดินไปรอบๆ มีห้องประชุม ประตู ศาลเจ้าที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม มีความเชื่อกันว่าเหล่าศิลปินผู้สร้างต้องเคลื่อนย้ายหินที่หนักประมาณ 200,000 ตันกันเลยนะเพื่อที่จะขุดวิหารนี้!!

มาต่อกันที่อนุสาวรีย์ของศาสนาพุทธจะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอาณาเขตของถ้ำทั้งหมด มีอารามศาลเจ้าที่มีองค์พระโพธิสัตว์ และงานแกะสลักของพระพุทธเจ้า อย่างถ้ำหมายเลข 10 หรือถ้ำวิศวกรรม (Vishvakarma Cave) รู้จักกันอีกชื่อว่า คาร์เพนเตอร์ส เคฟ (Carpenter’s Cave) เพราะการตกแต่งหินคล้ายกับลำแสงที่ทำจากไม้ ภายในห้องโถง มีพระพุทธรูปยาวประมาณ 4.5 เมตร อยู่ในท่าเทศนา ถ้ำนี้ถูกใช้เป็นอุโบสถสำหรับสวดมนต์นั่นเอง นะโม พุทโธ สังโฆ ขอความสุขสงบเย็นจงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ (^-^)

เดินงงในดงถ้ำไม่นาน ก็มาเจอบรรดาอนุสาวรีย์เชนที่มีอยู่ 5 ถ้ำทางตอนเหนือของพื้นที่ถ้ำเอลโลร่า ส่วนใหญ่จะมีขนาดถ้ำเล็กกว่าของฮินดู และพุทธ มีการแกะสลักของยักษา ยักษี เทวดา เทพธิดา อย่างถ้ำหมายเลข 32 หรือถ้ำอิทรสภา (Indra Sabha) จะมีรูปปั้นยักษ์ของพระอินทร์อยู่ 2 ตัว ตัวแรกมี 8 แขน อีกตัวมี 12 แขน อยู่ในท่าเต้นรำ จำนวนแขนแสดงถึงท่าทางของพระอินทร์ขณะร่ายรำนั่นเอง ถ้ำเอลโลร่าเปิดให้บริการตั้งแต่ 8:00 น. ถึง 17:30 น. ปิดวันอังคาร และช่วงที่ดีที่สุดสำหรับการมาคือราวๆ พฤศจิกายนถึงมีนาคม สวยอันซีนแบบนี้ พลาดได้ไง ใช่มั้ยคะ

นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวเยอะแยะแล้ว อินเดียยังเป็นแหล่งรวมโรงแรมระดับโลกเพียบ! อย่าง โรงแรมดิ โอเบรอย อุไดวิลาส ในอุทัยปุระ (The Oberoi Udaivilas, Udaipur), โรงแรมลีลา พาเลซ ในอุทัยปุระ (The Leela Palace, Udaipur), โรงแรมดิ โอเบรอย ราชวิลาส ในชัยปุระ (The Oberoi Rajvilas, Jaipur), โรงแรมแลมแบคห์ พาเลซ ในชัยปุระ (Rambagh Palace, Jaipur), ทัช เอกโซติก้า รีสอร์ท แอนด์ สปา ในกัว (Taj Exotica Resort & Spa, Goa), โรงแรมดิ โอเบรอย อมาวิลาส ในอัครา (The Oberoi Amarvilas, Agra), โรงแรมอจิตภาวัน ในจูดห์ปุระ (Umaid Bhawan Palace, Jodhpur) เป็นต้น มาถึงอินเดียอย่าลืมไปตำกันนะค้าาา ฟินกระจายแน่นอน>,<

ใครที่จะมาเที่ยวอินเดียก็อย่าลืมเตรียมตัว และเตรียมใจไว้สักนิดเพราะมีหลายอย่างที่เราอาจควบคุมไม่ได้ เช่น เวลา ผู้คน สภาพความหนาแน่น หรือแม้แต่กลิ่น!! การขับรถของที่นี่ก็จะค่อนข้างดูสับสนนิดนึง อาหารเองก็อาจทำให้บางคนท้องไส้ปั่นป่วนรับไม่ไหวได้เหมือนกัน เพราะมีส่วนผสมเฉพาะท้องถิ่นบางอย่างอาจไม่ถูกสุขลักษณะ แต่อินเดียปัจจุบันก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิดล๊าวน้า ด้านดีๆ เค้าก็มีเพียบนะจ๊ะอย่างนักท่องเที่ยวอาจได้สัมผัสรสชาติการเป็นซุปตาร์ ที่คนท้องถิ่นเข้ามาขอรุมถ่ายรูป! สนุกอมยิ้มกันไป และทั้งหมดนี้แหล่ะคือเสน่ห์ของอินเดียเชิญให้เราไปเยือน :)

[caption id="attachment_22710" align="alignnone" width="1024"] เครดิตภาพ: Makemytrip.com, Kiwicollection.com, Booking.com, Wowvenue.com[/caption]