ทราบไหมค่ะว่า เจ้าสมุทรยักษ์ใหญ่นี้เดินทางมานานแค่ไหนแล้ว ???
 
วิวัฒนาการของเรือสำราญแบ่งเป็น 4 ยุค ได้แก่ ยุคเรือพลังไอน้ำ สำหรับการค้าขายส่งสินค้าระหว่างประเทศ ยุคเส้นทางเดินเรือทะเล ต่อมายุคปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 มีเรือสำราญจำนวนมาก เช่น Prinzessin Victoria Luise White, Star Line, Majestic, Teutonic, Titanic  และยุคเรือสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่คนนิยมเดินทางระหว่างทวีปย้ายถิ่นที่อยู่ไปสู่สหรัฐอเมริกา
 
ยุคเรือพลังไอน้ำ ในยุคแรกมุ่งเน้นให้บริการขนส่งสินค้าเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศ มากกว่าผู้โดยสาร ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกลำแรก โดยเฉพาะในแถบอเมริกาและยุโรป ในปี 1818 เรือ Black Ball Line เริ่มอำนวยความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ควบคู่ไปกับการขนส่งสินค้าเป็นลำแรกของโลก จนกระทั่งเทคโนโลยีพัฒนาอย่างก้าวหน้า ทำให้การเดินทางด้วยเครื่องบินได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเรือสำราญท่องเที่ยว สำหรับสังคมชั้นสูงที่ต้องการพักผ่อนอย่างเต็มที่ พร้อมกับการบริการ และอาหารที่เป็นเลิศ ซึ่งเรือสำราญลำแรกของโลก P&O ของบริษัท Peninsular Steam Navigation Company เริ่มให้บริการครั้งแรกในปี ค.ศ. 1844 เส้นทางระหว่างประเทศอังกฤษและอเมริกาเหนือ
 
หลังจากนั้นได้พัฒนาเป็น เรือกลไฟในช่วง 1830 นั้นได้รับการแนะนำและครอบงำตลาดข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกของการขนส่งผู้โดยสาร และจดหมายบริษัท อังกฤษครองตลาดในเวลานั้น นำโดย แพ็คเกจ Steam Steam ของอังกฤษและอเมริกาเหนือ ในช่วงปี 1850 และ 1860 มีการปรับปรุงคุณภาพของการเดินทางสำหรับผู้โดยสาร เรือเริ่มให้บริการผู้โดยสารแต่เพียงผู้เดียว แทนที่จะขนส่งสินค้าหรือส่งจดหมายสัญญา และเพิ่มสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น ไฟ ไฟฟ้าพื้นที่ดาดฟ้ามากขึ้นและความบันเทิง
 

 
ยุคปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นการถือกำเนิดเรือสำราญโดยสารขนาดใหญ่ มีหลายสายเรือดังๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงยุคนี้ และหนึ่งในนั้นคือยักษ์ใหญ่ที่จมดิ่งลงใต้ท้องทะเลอย่า Titanic เป็นยุคแห่งการเดินทาง การสำรวจ จนไปถึงการย้ายถิ่นฐานของคนรวยฝั่งยุโรปที่เดินทางไปย้ายฝั่งอเมริกาเพื่อตั้งรกรากค่ะ นอกจากนี้ยังเป็นยุคแห่งการเดินเรือสำรวจ การเกิดและมีอยู่ของแผ่นดินใหม่อีกด้วย
 

 
ยุคเรือสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุคทองแห่งอุตสาหกรรมการส่งออก หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดการอพยพถิ่นฐานที่อยู่ของคนจำนวนมหาศาล ทั้งในกลุ่มคนหนีภัยการเมือง และคนที่เดินทางข้ามประเทศเพื่อไปเยี่ยมเยียนกับคน หรือ ครอบครัวที่ถูกแยกกันในคราวสงคราม ทำให้ธุรกิจการเดินเรือสำราญนั้นเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มนักธุรกิจ มหาเศรษฐี และกลุ่มคนที่มีฐานะดีที่ใช้บริการเรือสำราญมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้กิจการสายเรือนั้นทำเงินได้มหาศาล
 

 
ยุคปัจจุบัน นับเป็นยุคสมัยที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทาง เพื่อเปิดประสบการณ์แปลกใหม่ เรือสำราญเปรียบเสมือนโรงแรมเคลื่อนที่ ที่มาพร้อมกับ One Stop Service ที่เป็นทั้งการยานพาหนะเดินทางข้ามประเทศ ในหลากหลายเส้นทาง สามารถแวะท่องเที่ยวได้ตามแหล่งท่องเที่ยวในท่าเรือต่างๆ และบนเรือก็เป็นแหล่งเอนเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ มีกิจกรรมมากมาย ทั้งว่ายน้ำ ชมโชว์ในโรงละคร และปีนผา เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมเรือสำราญได้เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก กลายเป็นการท่องเที่ยวสุดหรู ที่แสนสะดวกสบาย โดยนักเดินทางแบ่งเป็นหลายกลุ่ม ทั้งครอบครัว คู่รัก เพื่อนฝูง ไม่ได้เฉพาะแต่วัยเกษียณระดับลักซ์ซูรี่ เท่านั้น นอกจากนี้การติดต่อสื่อสารก็สะดวก ใช้อินเตอร์เน็ตจากดาวเทียม และมีร้านอาหารให้เลือกอร่อยมากมายบนเรือสำราญ  
 

 

 

 

ตำนานเรือไททานิค

 
ไททานิค มีชื่อเสียงมาจากภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่สร้างขึ้นมาจากเรื่องจริง จากผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์อับปาง ที่เป็นโศกนาฏกรรมด้านการเดินทางด้วยเรือโดยสารครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์โลก หลายคนอาจจะได้ดื่มด่ำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ในรูปแบบที่ต่างกันออกไป จากบทประพันธ์ของผู้กำกับชื่อดังอย่าง เจมส์ คาเมรอน ที่สื่อสารออกมาได้ดีเลิศ เป็นที่น่าประทับใจของคนทั่วโลก
 
ภาพยนตร์โศกนาฏกรรมสุดโรแมนติกแห่งยุค 90 จากการแสดงที่แสนจะสมบทบาทของนักแสดง จนได้รับรางวัลออสการ์ อย่าง ลีโอนาโด ดิคาปริโอ และเคท วินสเลท ในบทของ แจ๊ค ดอว์สันคนรักของโรส เดวิท บูเคเตอร์ หญิงสาวผู้ดีที่ตกหลุมรักกับหนุ่มยากไร้ ที่ช่วยชีวิตเธอจากการพยายามฆ่าตัวตาย และเป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตจากไททานิค ในภายหลังเธอได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้หลานสาวของเธอ และเปลี่ยนชื่อเป็น โรส ดอว์สัน โดยใช้นามสกุลของคนรักของเธอที่ยอมสละชีวิต ท่ามกลางมหาสมุทรที่เต็มไปด้วยความหนาวเย็น และความมืด อินไปกับหนังกันเต็มที่ หลายๆ คนอาจจะรู้เกี่ยวกับเรือไททานิคมาบ้างแล้ว สำหรับใครที่ยังไม่เคยศึกษามาก่อน เรามาทำความรู้จักเรือไททานิค ต้นกำเนิดชื่อเสียงแห่งวงการเดินทางท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญกันเลยค่ะ
 

 
อาร์เอ็มเอส ไททานิค (อังกฤษ: RMS TITANIC) เป็นเรือโดยสารซึ่งจมลงสู่ก้นมหาสมุทรแอตแลนติกเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 หลังชนภูเขาน้ำแข็งระหว่างการเดินทางเที่ยวแรกจากเซาท์แทมป์ตัน สหราชอาณาจักรหรือประเทศอังกฤษ เพื่อที่จะเดินทางไปยังนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีระวางขับเคลื่อนขนาด 46,428 ตัน ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น และเคยถูกนับว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ด้วยฝีมือมนุษย์ ที่เคลื่อนที่ได้ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมกับมีคำโฆษณาว่าเป็น “เรือที่ไม่มีวันจม”
 

 

ข้อมูลเฉพาะของเรือไททานิค

 
ไททานิค ได้เปิดศักราชใหม่ให้กับอุตสาหกรรมเรือเดินสมุทร เนื่องจากเป็นเรือลำแรก ๆ ของโลกที่สร้างโดยโลหะ และรองรับผู้โดยสารได้ถึง 2,435 คน มีขนาด ยาว 269.0622 เมตร กว้าง 28.194 เมตร น้ำหนักเรือ 46,328 ตัน แบ่งเป็น 9 ชั้น ได้แก่




    1. ดาดฟ้า สงวนไว้ให้ผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นสอง มีปล่องไฟ 4 ตัว สูงตัวละ 19 เมตร และห้องยิมเนเซียม
 
    1. ชั้น A ห้องนั่งเล่น ห้องสมุด ห้องสูบบุหรี่ คาเฟ่ขนาดเล็ก และเนิร์สเซอรี่ของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง
 
    1. ชั้น B ห้องอาหาร a la carte ร้านกาแฟแบบปารีส ของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง และห้องสูบบุหรี่ผู้โดยสารชั้นสอง
 
    1. ชั้น C ห้องสมุดของผู้โดยสารชั้นสอง ห้องเอนกประสงค์ของผู้โดยสารชั้นสาม
 
    1. ชั้น D ห้องอาหารของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง และชั้นสอง
 
    1. ชั้น E ห้องนอนของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง สอง สาม และลูกเรือ
 
    1. ชั้น F ห้องอาหารของผู้โดยสารชั้นสาม
 
    1. ชั้น G สระว่ายน้ำ ห้องอาบน้ำแบบตุรกี และห้องเก็บกระเป๋าเดินทาง
 
    1. ชั้นห้องเครื่อง ทั้งหมด 16 ห้อง รวมหม้อน้ำรวม 29 ชุด เครื่องขนส่งเชื้อเพลิงให้เครื่องยนต์ 3 ตัว เครื่องยนต์ 3 ตัว หมุนใบจักร 3 ใบ รวม 50000 แรงม้า เร่งความเร็วเรือได้สูงสุด 23 น็อต (42.596 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความเร็วมาตรฐาน 21 น็อต (38.892 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ห้องเครื่องทั้งหมดจะมีกำแพงสูงถึงชั้น F และมีประตูกล ซึ่งจะปิดลงมาทุกบานทั่วลำเรือ เมื่อพบเหตุผิดปกติที่ห้องเครื่องใดห้องเครื่องหนึ่ง ถ้าหากไม่เกิดรอยรั่วในหลายห้องเครื่องจนเกินไป ตามหลักการลอยตัวแล้ว เรือจะไม่จม ถึงแม้จะเป็นจุดอ่อนที่สุดของเรือซึ่งก็คือหัวเรือ ก็ยังรับรอยแตกได้ถึง 4 ห้องเครื่องติดกันโดยไม่จม
 
    1. ลิฟต์ 4 ตัว แบ่ง 3 ตัว สงวนไว้สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง อีก 1 ตัว มีไว้สำหรับผู้โดยสารชั้นสอง ส่วนผู้โดยสารชั้นสามไม่มีสิทธิ์ใช้ลิฟต์



 
 

 

 
 
 
โดยปกติเรือไททานิค สามารถจุผู้โดยสารได้ 2,435 คน โดยแบ่งเป็น ชั้นสาม 1,026 คน ชั้นสอง 674 คน และชั้นหนึ่ง 735 คน และลูกเรีออีก 892 คน รวมผู้โดยสาร และลูกเรือทั้งหมด 3,327 คน แต่หากต้องการเพิ่มความจุผู้คน ก็สามารถดัดแปลงเรือให้จุผู้โดยสาร และลูกเรือได้มากขึ้นอีก 220 คน เป็น 3,547 คน แต่ยังไม่ได้มีการดัดแปลงในการเดินทางเที่ยวแรกนี้ มีผู้โดยสารประมาณ 2,208 คน ไม่ได้เกินจำนวนบรรทุก แต่เนื่องจากเรือชูชีพถูกมองว่าไม่ค่อยจำเป็น คิดว่าเรือไม่มีวันจม จึงเตรียมไว้สำหรับผู้โดยสาร 1,178 คนเท่านั้น เรือชูชีพสำรองถูกจัดเตรียมไว้ 20 ลำ มีขนาดไม่เท่ากัน ในจำนวนนี้ 14 ลำ จุได้ 65 คน 4 ลำ จุได้ 47 คน และอีก 2 ลำ จุได้ 40 คน ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ เมื่อเกิดเหตุเรืออับปาง มีผู้เสียชีวิตจำนวนนับพัน เนื่องจากผู้โดยสารไม่สามารถหนีออกจากเรือได้หมด  
 
 
 

เริ่มต้นการเดินทางครั้งแรก และครั้งเดียวของไททานิค

 
เริ่มการเดินทางที่เมืองเซาท์แธมตัน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ควบคุมโดยกัปตัน เอ็ดเวิร์ด เจ. สมิธ (Edward J. Smith) เพื่อเดินทางไปยังนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในการเดินทางครั้งนั้น มีผู้เดินทางรวมทั้งหมด 2,208 คน แบ่งเป็นลูกเรือ 891 คน ผู้โดยสารชั้นสาม 708 คน, ผู้โดยสารชั้นสอง 285 คน และผู้โดยสารชั้นหนึ่ง 324 คน ผู้โดยสารบนเรือ ล้วนเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เป็นผู้ให้ความสนใจในการเดินทางสุดหรูหราในครั้งนี้ และมีผู้ร่วมเดินทางเป็นชนชั้นล่างอย่างผู้อพยพกว่าพันคน จากบริเตนใหญ่ ไอร์แลนด์ และสแกนดิเนเวีย ซึ่งต้องการเดินทางไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ
 
ในขณะการเดินทางเที่ยวแรก ไททานิคถูกจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 3 เรือโดยสารชั้นโอลิมปิก จัดอันดับโดย ไวท์สตาร์ไลน์ สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1909-1911 โดยอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์แอนดวูล์ฟฟ์ ในเบลฟาสต์ ประเทศไอร์แลนด์ สามารถบรรทุกผู้โดยสาร 2,223 คน เรือได้รับการออกแบบ ให้มีความสะดวกสบายและความหรูหราที่สุด โดยบนเรือมียิมเนเซียม สระว่ายน้ำ ห้องสมุด ภัตตาคารระดับหรู และห้องพักจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีโทรเลขไร้สาย จัดเตรียมไว้เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร และใช้สำหรับการปฏิบัติการด้วย
 

 
แม้ว่า ไททานิค จะมีคุณลักษณะความปลอดภัยที่ก้าวหน้า เช่น ห้องกันน้ำ และประตูกันน้ำที่ทำงานด้วยรีโมต ก็ยังขาดเรือชูชีพที่เพียงพอ สำหรับบรรทุกผู้โดยสารทุกคนบนเรือ เนื่องจากระเบียบความปลอดภัยในทะเลที่ล้าสมัย จึงมีเรือชูชีพเพียงพอสำหรับผู้โดยสาร 1,178 คนเท่านั้น เกินครึ่งของผู้ที่เดินทางไปกับเรือในเที่ยวแรกเล็กน้อย สำหรับหนึ่งในสามของความจุผู้โดยสาร และลูกเรือทั้งหมดเท่านั้น
 
"การจมดิ่งสู่ท้องทะเลของเรือไททานิคนั้น เกิดขึ้นในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1,514 ศพ นับเป็นภัยพิบัติทางทะเลในยามสงบครั้งใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิตมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ "
 
หลังเดินทางออกจากเซาท์แทมป์ตันเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ไททานิคได้แวะที่เชอร์บูร์ก (Cherbourg) ในฝรั่งเศส และควีนส์ทาวน์ หรือปัจจุบันคือ โคฟ (Cobh) ในไอร์แลนด์ ก่อนมุ่งหน้าไปสู่นิวยอร์ก
 

 
ในฤดูกาลนั้นเป็นช่วงเวลาที่ธารน้ำแข็งแถบกรีนแลนด์เริ่มละลาย ทำให้ภูเขาน้ำแข็ง เคลื่อนตัวลงมาในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือ และลอยตามกระแสน้ำในมหาสมุทรลงมาทางใต้ ซึ่งเป็นเหตุทำให้เรือไททานิคชนแฉลบเข้ากับภูเขาน้ำแข็งใต้ท้องทะเล ในเวลาประมาณ 23.49 น. ของวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 ตามเวลาเรือ ขณะกำลังแล่นอยู่ในท้องทะเลห่างจากเมืองเซาท์แธมป์ตันไปทางใต้ราว 600 กิโลเมตร ทำให้เรือได้รับความเสียหายใต้ท้องเครื่อง จนแผ่นลำเรือไททานิคงอเข้าในตัวเรือหลายจุดบนฝั่งกาบขวา และทำให้ห้องกันน้ำ 5 ใน ​16​ ห้องถูกเปิดออก
 
ภายหลังอีกสองชั่วโมงน้ำทะเลได้เริ่มทะลักเข้ามาในตัวเรือ แต่ผู้โดยสารส่วนใหญ่ไม่ได้รู้สึกตื่นตระหนก เพราะไม่เชื่อว่าเรือขนาดใหญ่ลำนี้จะจมได้ ดังที่มีคำโฆษณาชวนเชื่อบอกไว้ จึงยังคงทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไปอย่างใจเย็น จนกระทั่งเรือค่อย ๆ อับปางลง กัปตันจึงสั่งให้รีบอพยพผู้โดยสาร โดยให้ผู้หญิง และเด็กลงเรือไปก่อน เมื่อผู้โดยสารส่วนใหญ่เริ่มรู้สึกถึงความเคร่งเครียดของลูกเรือ และได้มีการยิงพลุขอความช่วยเหลือขึ้นฟ้า จึงเริ่มเชื่อแล้วว่า เรือกำลังจะจมจริงๆ ทำให้เกิดความโกลาหลขึ้น ต่างพากันแย่งเรือชูชีพอย่างวุ่นวาย บ้างก็ยอมเสียสละให้เด็ก และผู้หญิงก่อน บ้างก็เห็นแก่ตัวเอง จนเป็นเหตุทำให้การปล่อยเรือชูชีพบางลำที่ยังไม่เต็มด้วยซ้ำ หนำซ้ำเมื่อเรือชูชีพถูกปล่อยจนหมด ผู้โดยสารกว่า 1,500 คน จำต้องเผชิญชะตากรรมบนเรือที่กำลังอับปาง และแตกออกเป็นสองท่อน
 

 
เวลาล่วงไปจนถึง 02.20 น. ของวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เรือก็จมลงในแนวดิ่ง ผู้โดยสารจำนวนมากต่างเกาะซากเรือ และสวมชูชีพลอยคออยู่ในทะเล แต่สุดท้ายก็ต้องเสียชีวิตจากภาวะตัวเย็น (Hypothermia) เนื่องจากน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติกเย็นจัด จนเป็นน้ำแข็ง ส่วนผู้รอดชีวิต 710 คน ถูกช่วยเหลือขึ้นเรืออาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย (RMS Carpathia) ในภายหลัง
 
อีกหนึ่งเรื่องสุดน่าเศร้าที่พบในการสอบสวนคือ ก่อนที่เรือไททานิคจะชนภูเขาน้ำแข็งเพียงไม่กี่ชั่วโมง มีเจ้าหน้าที่บนฝั่งส่งวิทยุโทรเลขมาแจ้งเตือน ถึง 7 ครั้ง ว่าให้เรือไททานิคระวังภูเขาน้ำแข็ง ที่กระจัดกระจายอยู่ในเส้นทางข้างหน้า แต่สารดังกล่าวกลับไม่ได้ถูกส่งต่อไปยังกัปตัน หรือเจ้าหน้าที่เรือแม้แต่คนเดียว เพราะพนักงานวิทยุโทรเลข ยุ่งอยู่กับการส่งวิทยุโทรเลขให้ผู้โดยสารนั่นเอง
 
จากการสูญเสียชีวิตอย่างใหญ่หลวง เป็นข้อผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ต่อความล้มเหลวของกฎระเบียบและปฏิบัติการซึ่งนำไปสู่ภัยพิบัติ การไต่สวนสาธารณะในอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ได้นำเหตุการณ์เหล่านี้มาพัฒนาการหลักในความปลอดภัยทางทะเล ถือว่าเป็นหนึ่งในมรดกการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงสำคัญที่สุดในโลก จึงมีการจัดตั้งอนุสัญญาความปลอดภัยของชีวิตในทะเลระหว่างประเทศ (SOLAS) ใน ค.ศ. 1914 เพื่อควบคุมความปลอดภัยในทะเลจนถึงทุกวันนี้
 
 
 

ความปลอดภัยของเรือสำราญ ณ ปัจจุบัน

 
การท่องเที่ยวเรือสำราญ การเดินทางส่วนใหญ่จะมีเส้นทางอยู่ในทะเล มหาสมุทร หรือแม่น้ำ อุบัติเหตุทางเรือสำราญต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้น เช่น อุบัติเหตุของเรือสำราญ Costa Concodia ทำให้ผู้โดยสารเรือเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เหตุไฟไหม้ในเรือสำราญ Insignia ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และเรือ Grandeur of the Seas แม้จะไม่มีผู้เสียชีวิต อีกทั้งโรคระบาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเดินทาง อย่างโรคซาร์ส ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ๆ เนื่องจากการเดินทางท่องเที่ยวเรือสำราญต่างมีจุดหมายหลากหลายประเทศ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารที่เกิดขึ้นในเรือสำราญ หรือแม้แต่ภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น พายุ แผ่นดินไหว สึนามิ รวมไปถึงภัยจากโจรสลัด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นบนเรือสำราญได้
 
อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่กังวลเรื่องความปลอดภัย สามารถอุ่นใจได้มากขึ้นมาก เพราะถือได้ว่า ปัจจุบันเรือสำราญเป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้น้อยมาก น้อยกว่าเครื่องบิน รถไฟ และรถยนต์ อย่างเห็นได้ชัด
 
ในช่วงปี ค.ศ. 2009 - 2016 เรือสำราญทั่วโลกมีจำนวนมากกว่า 1,000 ลำ และนักท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การเสียชีวิตและอุบัติเหตุบนเรืออยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดกว่าการเดินทางบก และทางอากาศ ทางรถไฟ โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 2016 อุบัติเหตุบนเรือเหลือเพียง 19.4 ครั้งต่อปี เปรียบเทียบกับปี 2015 ที่ 19.9 ครั้งต่อปี รวมกับเหตุการณ์เล็กน้อยที่เกิดขึ้นเฉลี่ยตก 21.1 ครั้งต่อปี
 
จากช่วงปี ค.ศ. 2009 - 2016 ไม่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุขณะเดินทางอยู่บนเรือสำราญ ในขณะที่ปี ค.ศ. 2013 เมื่อมีข้อมูลที่เปรียบเทียบได้ล่าสุด อุบัติการณ์ของการเสียชีวิตของผู้โดยสารและลูกเรือบนเรือสำราญอยู่ในระดับต่ำสุดที่ 0.15 ต่อพันล้านไมล์ผู้โดยสาร เมื่อเทียบกับอุบัติเหตุทั่วโลกอยู่ที่ 0.09 ส่วนค่าเฉลี่ยอุบัติเหตุของสายการบินอยู่ที่ 0.73 ทางหลวง 7.4 และ 8.8 บนรถไฟเฉพาะในสหรัฐอเมริกา เท่ากับว่าผลเฉลี่ยของอุบัติเหตุที่เกิดจากการเดินทางโดยเรือสำราญในช่วง ค.ศ. 2009 – 2016 ลดลงจาก 15 เป็น 8 เปอร์เซ็นต์ โดย Cruise Lines International Association’s (CLIA) ได้รวบรวมบันทึกสถิติเหตุการณ์ปฏิบัติการประจำปีอุตสาหกรรมการเดินเรือ เพื่อต้องการประเมินความน่าเชื่อถือในการท่องเที่ยวเรือสำราญ
 
นอกจากนี้ ปัจจุบันการท่าเรือเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะพนักงานบนเรือ ต้องได้รับการอบรมและสอบเรื่องความปลอดภัย เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ระดับนานาชาติเรื่องความปลอดภัยของเรือ และท่าเรือ หรือที่เรียกว่า International Ship and Port Facility Security Code:ISPS Code บนเรือจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกฝนวิธีการจดจำลักษณะ และรูปแบบพฤติกรรมของบุคคลที่มีแนวโน้มที่จะคุกคามความปลอดภัยของเรือ และลูกเรือ รวมทั้งมีกล้องวิดีโออินฟาเรดที่สามารถบันทึกภาพทั้งกลางวัน และกลางคืนที่ค่อยช่วยอำนวยความสะดวก
 
 
 
แหล่งที่มาของข้อมูล:
 
https://www.sentangsedtee.com/big-idea/article_702
 
https://www.admissionpremium.com/cruise/news/3506
 
https://www.trendingtalkuk.com/
 
https://safety4sea.com/wp-content/uploads/2018/03/G.-P-Wild-International-Limited-Report-on-Operational-Incidents-2018_03.pdf